วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

PHP $_POST


ตัวแปร $_POST

ตัวแปร $_POST เป็นตัวแปรที่รับและส่งโดย HTTP POST จะต่างจากแบบ HTTP GET ซึ่งผู้ใช้จะไม่สามารถเห็นค่าที่ส่งไปได้ และส่งค่าได้ไม่จำกัด

มาดูตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มด้วยวิธี $_POST กัน
<html>
<body>
<form action="register.php" method="POST">
กรอกชื่อ: <input type="text" name="name" />
กรอกอายุ: <input type="text" name="age" />
<input type="submit" />
</form>
</body>
</html>
ไฟล์ register.php ซึ่งเป็นหน้ารับค่าและแสดงผล จะต้องใช้ตัวแปร $_POST เพื่อแสดงค่าที่รับมาดังนี้

ยินดีต้อนรับ คุณ <?php echo $_POST["name"]; ?><br />
คุณอายุ <?php echo $_POST["age"]; ?> ปี!
การส่งด้วยวิธี $_POST นั้นสามารถส่งข้อมูลได้ไม่จำกัด จะเหมาะเมื่อใช้โพสข้อความที่ยาวๆ และผู้ใช้ไม่สามารถเห็นข้อมูลที่ส่ง จะเหมาะอย่างยิ่งที่จะส่งข้อมูลอันเป็นความลับ

PHP $_GET


ตัวแปร $_GET

ตัวแปร $_GET เป็นตัวแปรที่รับและส่งโดย HTTP GET การส่งค่าด้วยวิธี $_GET จากฟอร์ม หน้าที่รับค่าจะแสดงค่าตัวแปรไว้ที่ URL ด้วย

การใช้ HTTP GET ส่งมีข้อจำกัด ซึ่งค่าของตัวแปรห้ามส่งเกิน 100 ตัวอักขระ

มาดูตัวอย่างการเขียนแบบฟอร์มด้วยวิธี $_GET กัน
<html>
<body>
<form action="register.php" method="GET">
กรอกชื่อ: <input type="text" name="name" />
กรอกอายุ: <input type="text" name="age" />
<input type="submit" />
</form>
</body>
</html>
URL ของหน้าที่รับค่าคือไฟล์ "register.php" จะได้แบบนี้
www.phpstreet.com/register.php?name=pong&age=28
ตัวแปรจะถูกคั่นไว้ด้วยเครื่องหมายคำถาม "?" และถ้ามีตัวแปรมากกว่าหนึ่งจะมีเครื่องหมาย "&" คั่นระหว่างตัวแปร
ไฟล์ register.php ซึ่งเป็นหน้ารับค่าและแสดงผล จะต้องใช้ตัวแปร $_GET เพื่อแสดงค่าที่รับมาดังนี้

ยินดีต้อนรับ คุณ <?php echo $_GET["name"]; ?><br />
คุณอายุ <?php echo $_GET["age"]; ?> ปี!
เมื่อคุณต้องการใช้การส่งแบบ $_GET ค่าต่างๆ จะถูกแสดงที่ URL ให้ผู้ใช้เห็น ดังนั้น คุณไม่ควรใช้ในกรณีที่มีการส่งข้อมูลอันเป็นความลับ เช่น รหัสผ่าน

อย่างไรก็ตาม ค่าตัวแปรมีการแสดงที่ URL คุณสามารถทำลิงค์ไปที่หน้าที่ต้องการ แล้วระบุค่าต่างๆ ที่ URL ไปได้เลย โดยไม่ต้องใช้ฟอร์มในการส่ง นี่จะเป็นประโยชน์มากในบางกรณี

ตัวแปร $_REQUEST
ตัวแปร $_REQUEST คือตัวแปรที่สามารถนำมาใช้เรียกแทนตัวแปรได้ทั้ง $_GET, $_POST และ $_COOKIE เพื่อแสดงผล
ดูตัวอย่าง

ยินดีต้อนรับ คุณ <?php echo $_REQUEST["name"]; ?>.<br />
คุณอายุ <?php echo $_REQUEST["age"]; ?> ปี!

Forms


การใช้งานฟอร์มด้วย PHP

การสร้างฟอร์มโดยทั่วไปจะใช้คำสั่ง HTML ในที่นี้ทางเราจะไม่อธิบายวิธีสร้างฟอร์ม แต่จะสอนการส่ง/รับค่า และการเรียกใช้งานด้วย PHP

ดูที่ตัวอย่าง HTML ฟอร์ม ข้างล่างนี้
<html>
<body>
<form action="register.php" method="POST">
กรอกชื่อ: <input type="text" name="name" />
กรอกอายุ: <input type="text" name="age" />
<input type="submit" />
</form>
</body>
</html>
ตัวอย่าง HTML ฟอร์ม ข้างบนนี้มี 2 ช่องรับข้อความ (text field) และปุ่มส่งค่า (submit button) เมื่อผู้ใช้เติมค่าเข้าไป และกดปุ่ม submit แล้วไฟล์ register.php จะถูกเรียกขึ้นมา

ไฟล์ "register.php" จะเป็นแบบข้างล่างนี้
<html>
<body>
ยินดีต้อนรับ คุณ <?php echo $_POST["name"]; ?>.<br />
คุณอายุ <?php echo $_POST["age"]; ?> ปี!
</body>
</html>
ผลของตัวอย่างสคริปต์ข้างบนนี้อาจจะเป็น

ยินดีต้อนรับ คุณ พงษ์.
คุณอายุ 28 ปี!
การส่งค่าด้วยวิธี POST เวลาเรียกใช้จะเป็นตัวแปร $_POST["name"] และ $_POST["age"] ในทางเดียวกัน ถ้าเป็นการส่งค่าด้วยวิธี GET จะเรียกใช้ตัวแปร $_GET แทนที่ $_POST

Functions


ฟังก์ชั่น คือ ชุดคำสั่งที่ใช้ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการส่งค่าที่ฟังก์ชั่นต้องการไปให้ เพื่อให้ฟังก์ชั่นคืนค่าผลลัพธ์ หรืออาจไม่มีการคืนค่ากลับมาก็ได้ ค่าที่ส่งผ่านในฟังก์ชั่นประกอบด้วย 2 ค่า คือ อาร์กิวเมนต์ (argument) และพารามิเตอร์ (parameter)

  • อาร์กิวเมนต์ คือ ตัวแปรหรือค่าที่ต้องการส่งมาให้กับฟังก์ชั่น (ตัวแปรรับ)
  • พารามิเตอร์ คือ ตัวแปรหรือค่าที่ส่งมาพร้อมกับการเรียกใช้ฟังก์ชั่น (ตัวแปรส่ง)

    คำสั่ง while มีรูปแบบดังนี้
    while (เงื่อนไข)
    { 
    คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ; 
    }
    ตัวอย่างข้างล่างนี้ จะแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมจะวนลูปไปเรื่อยๆ ตราปเท่าที่ตัวแปร i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 และตัวแปร i จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 ในแต่ละครั้งที่วนลูป

    <html>
    <body>
    <?php 
    $i=1;
    while($i<=5)
    {
    echo "ตัวเลขที่ " . $i . "<br />";
    $i++;
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    คำสั่ง do...while มีรูปแบบดังนี้
    do
    {
    คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ;
    }
    while (เงื่อนไข);
    ตัวอย่างข้างล่างนี้ ตัวแปร i จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 ต่อครั้งการวนลูป และจะวนลูปทำงานตามคำสั่งไปตราปเท่าที่ตัวแปร i มีค่าน้อยกว่า 5

    <html>
    <body>
    <?php 
    $i=0;
    do
    {
    $i++;
    echo "เลขที่ " . $i . "<br />";
    }
    while ($i<5);
    ?>
    </body>
    </html>

    คำสั่ง for มีรูปแบบดังนี้
    for (initialization; condition; increment)
    { 
    คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ; 
    } 
    
    Note: เหมาะที่จะใช้ เมื่อคุณทราบจำนวนครั้งที่ต้องการวนลูปที่แน่นอน คำสั่ง for มีอยู่ 3 พารามิเตอร์ ตัวแรก initialization เป็นตัวแปรตั้งต้น ตัวที่สอง condition เป็นเงื่อนไขที่เรากำหนด และตัวสุดท้าย increment เป็นการเพิ่มขึ้นของค่าตัวแปร เพื่อให้การวนลูปสมบูรณ์ โดยแต่ละพารามิเตอร์จะมี คอมม่า คั่น
    ตัวอย่างข้างล่างนี้ จะแสดงคำว่า สวัสดี ชาวโลก! 5 ครั้ง

    <html>
    <body>
    <?php
    for ($i=1; $i<=5; $i++)
    {
    echo "สวัสดี ชาวโลก!<br />";
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    คำสั่ง foreach มีรูปแบบดังนี้
    foreach (array as value)
    {
     คำสั่งต่างๆ ;
    }
    การวนลูปของอะเรย์ ในการวนลูปแต่ละครั้งจะเป็นค่าของแต่ละอีลิเมนต์ในอะเรย์ที่ถูกกำหนดเป็น $value ไปเรื่อยๆ จนจบ ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่มี 3 อีลิเมนต์ ซึ่งจะทำการวนลูป 3 ครั้ง

    <html>
    <body>
    <?php
    $arr=array("หนึ่ง", "สอง", "สาม");
    foreach ($arr as $value)
    {
    echo "อะเรย์นี้มีค่า: " . $value . "<br />";
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    Looping


    คำสั่ง Looping เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการวนรอบ โปรแกรมจะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้จะเป็นเท็จ จึงหลุดออกจากการทำงาน เป็นการช่วยลดเวลาในการเขียนซ้ำๆ กันได้มาก ใน PHP มีคำสั่งวนลูปดังนี้
  • while - จะคล้ายคำสั่ง if ที่ทำทีละคำสั่งรอบเดียว แต่คำสั่ง while จะวนลูปตราบที่เงื่อนไขยังเป็นจริง
  • do...while - จะทำงานตามคำสั่งต่างๆ ก่อน จึงจะมาตรวจสอบเงื่อนไขที่คำสั่ง while แล้วจะวนกลับขึ้นไปทำงานที่คำสั่งต่างๆใหม่ ถ้าเงื่อนไขยังเป็นจริง
  • for - จะตรวจสอบเงื่อนไข พร้อมทั้งกำหนดค่าเริ่มต้น และการเปลี่ยนแปลงค่าเริ่มต้นไปพร้อมๆ กัน โดยตราบใดที่เงื่อนไขเป็นจริง ก็จะทำงานในคำสั่งภายใน for ต่อไป
  • foreach - เป็นการวนลูปผ่านแต่ละอีลิเมนต์ในอะเรย์

    คำสั่ง while มีรูปแบบดังนี้
    while (เงื่อนไข)
    { 
    คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ; 
    }
    ตัวอย่างข้างล่างนี้ จะแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมจะวนลูปไปเรื่อยๆ ตราปเท่าที่ตัวแปร i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 และตัวแปร i จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 ในแต่ละครั้งที่วนลูป

    <html>
    <body>
    <?php 
    $i=1;
    while($i<=5)
    {
    echo "ตัวเลขที่ " . $i . "<br />";
    $i++;
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    คำสั่ง do...while มีรูปแบบดังนี้
    do
    {
    คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ;
    }
    while (เงื่อนไข);
    ตัวอย่างข้างล่างนี้ ตัวแปร i จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 ต่อครั้งการวนลูป และจะวนลูปทำงานตามคำสั่งไปตราปเท่าที่ตัวแปร i มีค่าน้อยกว่า 5

    <html>
    <body>
    <?php 
    $i=0;
    do
    {
    $i++;
    echo "เลขที่ " . $i . "<br />";
    }
    while ($i<5);
    ?>
    </body>
    </html>

    คำสั่ง for มีรูปแบบดังนี้
    for (initialization; condition; increment)
    { 
    คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ; 
    } 
    
    Note: เหมาะที่จะใช้ เมื่อคุณทราบจำนวนครั้งที่ต้องการวนลูปที่แน่นอน คำสั่ง for มีอยู่ 3 พารามิเตอร์ ตัวแรก initialization เป็นตัวแปรตั้งต้น ตัวที่สอง condition เป็นเงื่อนไขที่เรากำหนด และตัวสุดท้าย increment เป็นการเพิ่มขึ้นของค่าตัวแปร เพื่อให้การวนลูปสมบูรณ์ โดยแต่ละพารามิเตอร์จะมี คอมม่า คั่น
    ตัวอย่างข้างล่างนี้ จะแสดงคำว่า สวัสดี ชาวโลก! 5 ครั้ง

    <html>
    <body>
    <?php
    for ($i=1; $i<=5; $i++)
    {
    echo "สวัสดี ชาวโลก!<br />";
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    คำสั่ง foreach มีรูปแบบดังนี้
    foreach (array as value)
    {
     คำสั่งต่างๆ ;
    }
    การวนลูปของอะเรย์ ในการวนลูปแต่ละครั้งจะเป็นค่าของแต่ละอีลิเมนต์ในอะเรย์ที่ถูกกำหนดเป็น $value ไปเรื่อยๆ จนจบ ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่มี 3 อีลิเมนต์ ซึ่งจะทำการวนลูป 3 ครั้ง

    <html>
    <body>
    <?php
    $arr=array("หนึ่ง", "สอง", "สาม");
    foreach ($arr as $value)
    {
    echo "อะเรย์นี้มีค่า: " . $value . "<br />";
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    Arrays


    อะเรย์ (Arrays) คือชุดตัวแปรที่แสดงอยู่ในรูปของลำดับที่ เพื่อเก็บค่าข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การทำงานใน PHP ไม่ช้าไม่เร็ว คุณต้องสร้างตัวแปรที่คล้ายๆ กันมากมาย แทนที่จะสร้างตัวแปรหลายตัว คุณสามารถเก็บค่าตัวแปรต่างๆ มากมายซึ่งเรียกว่า อีลิเมนต์ (element) ให้เก็บอยู่ในรูปของอะเรย์

    แต่ละอีลิเมนต์ จะมีอินเด็กซ์ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นคีย์ของอะเรย์ เพื่อใช้สำหรับระบุค่าที่เก็บอยู่ภายในแต่ละอีลิเมนต์ของอะเรย์ ค่าอินเด็กซ์ใน PHP จะเริ่มต้นที่ 0 เป็นค่าแรก เรียงไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ 0,1,2,... จนหมดอีลิเมนต์ และสามารถกำหนดอินเด็กซ์ของอะเรย์เป็นตัวอักษรได้อีกด้วย

    อะเรย์ มีด้วยกัน 3 ชนิด ดังนี้

    Numeric arrays - เป็นอะเรย์ที่มีคีย์ทั่วไปเป็นตัวเลข
    Associative arrays - เป็นอะเรย์ที่แต่ละคีย์จะมีค่ากำหนดไว้ด้วย
    Multidimensional arrays - เป็นอะเรย์ซ้อนอะเรย์ ที่บรรจุค่าเป็นมิติมากมาย

    Numeric array

    มีหลายแบบในการสร้าง numeric array มาดูตัวอย่างแรกกัน
    $name = array("Chai","Ying","Pong");
    ดูตัวอย่างที่ 2 กัน

    $name[0] = "Chai";
    $name[1] = "Ying";
    $name[2] = "Pong";
    แต่ละคีย์ในตัวอย่างข้างบนเป็นค่าที่คุณสามารถใช้ได้เมื่อเขียนสคริปต์
    Syntax

    <?php
    $name[0] = "Chai";
    $name[1] = "Ying";
    $name[2] = "Pong";
    echo $name[1] . " & " . $name[2] . 
    " are ". $name[0] . "'s Friends";
    ?>
    โค้ดข้างบนจะได้ผลลัพธ์ คือ Ying & Pong are Chai's Friends

    Associative array

    ถ้าคุณต้องการเก็บตัวแปรที่มีการระบุค่าด้วยแล้ว Associative array ดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า Numeric array มาดูตัวอย่างแรกกัน
    $age = array( "Chai"=>28, "Ying"=>22, "Pong"=>25 );
    ดูตัวอย่างที่ 2 กัน ซึ่งมีผลลัพธ์ไม่ต่างจากตัวอย่างแรก แต่เขียนต่างกัน

    $name[Chai] = "28";
    $name[Ying] = "22";
    $name[Pong] = "25";

    Multidimensional Array

    อะเรย์สามารถซ้อนกันได้ตั้งแต่ 2 อะเรย์ขึ้นไป มาดูตัวอย่างกัน
    $families = array(
      "Pong"=>array(
        "Sit",
        "Lek",
        "Pat",
        "Wit",
        "Muay",
        "Bee"
        ),
      "Beam"=>array(
        "Dan"
        ),
      "Ken"=>array(
        "Jerry",
        "Yai",
        "Vanness"
        )
    );
    อะเรย์ข้างบนนี้ จะมีผลลัพธ์เหมือนกับข้างล่าง

    Array
    (
    [Pong] => Array
      (
      [0] => Sit
      [1] => Lek
      [2] => Pat
      [3] => Wit
      [4] => Muay
      [5] => Bee
      )
    [Beam] => Array
      (
      [0] => Dan
      )
    [Ken] => Array
      (
      [0] => Jerry
      [1] => Yai
      [2] => Vanness
      )
    ) 

    Switch Statement


    คำสั่ง Switch จะคล้ายกับคำสั่ง If แต่ว่าเงื่อนไขจะมีมากกว่า 2 เงื่อนไข คือตรวจสอบเงื่อนไข โดยดูจากค่าของตัวแปร โดยนำค่าจากตัวแปรที่อยู่ในคำสั่ง switch มาตรวจสอบกับค่าที่อยู่หลังคำสั่ง case แต่ละคำสั่ง ถ้าตรงกัน ก็จะทำงานตามคำสั่งใน case นั้น ถ้าไม่ตรงกับ case ไหนเลยจะมาทำงานในคำสั่ง default แทน มีรูปแบบดังนี้
    switch ( ตัวแปร )
    {
    case ค่าที่ 1 :
    คำสั่งที่ 1 ;
    break;  
    case ค่าที่ 2:
    คำสั่งที่ 2 ;
    break;
    default:
    คำสั่งที่ไม่ตรงกับค่าที่ 1 และ 2 ;
    }
    คำสั่ง break จะทำให้โปรแกรมกระโดดออกไปทำงานนอกคำสั่ง switch ถ้าไม่มีคำสั่ง break โปรแกรมจะทำคำสั่งต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เสียเวลา
    มาดูตัวอย่างกันว่า switch ทำงานอย่างไร
  • โปรแกรมจะตรวจสอบตัวแปรที่คำสั่ง switch ว่ามีค่าเป็นเท่าใด
  • ค่าของตัวแปรจะถูกนำมาตรวจสอบกับคำสั่ง case ว่าตรงกับเลขใด
  • ถ้าตรงกับตัวเลขใด ก็จะทำงานตามคำสั่งของ case นั้น
  • เมื่อทำงานตามคำสั่งใน case นั้นเสร็จ จะพบคำสั่ง break ทำให้กระโดดออกจากโปรแกรมทันที
  • ในกรณีที่ไม่มีค่าใดตรงกับ case ที่ระบุ โปรแกรมจะทำงานในคำสั่ง default โดยอัติโนมัติ
    <html>
    <body>
    <?php
    switch ($x)
    {
    case 1:
    echo "ได้เลข 1";
    break;
    case 4:
    echo "ได้เลข 4";
    break;
    case 10:
    echo "ได้เลข 10";
    break;
    default:
    echo "ไม่มีตัวเลข 1 , 4 และ 10";
    }
    ?>
    </body>
    </html>

    If...Else Statement


    คำสั่ง If, Elseif และ Else เป็นคำสั่งที่ใช้เปรียบเทียบเงื่อนไขเพื่อเลือกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง โครงสร้างที่ใช้จะขึ้นกับวัตถุประสงค์ บางกรณีสามารถเขียนได้หลายลักษณะ

    คำสั่ง If ใช้สำหรับการตัดสินใจ โดยถ้าเป็นจริงจะทำตามคำสั่งต่างๆ ที่กำหนดไว้ภายใต้เงื่อนไข ซึ่งเงื่อนไขจะอยู่ภายในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ถ้าเป็นจริงแล้วจะไปทำงานคำสั่งที่อยู่ภายในเครื่องหมายปีกกา { }

    คำสั่ง If...else เป็นคำสั่งที่มี 2 เงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขใน If เป็นจริงก็จะเข้าไปทำงานคำสั่งภายใน If แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะไปทำงานคำสั่งภายใน else รูปแบบเป็นดังนี้
    if (เงื่อนไข)
    { คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง ; }
    else
    { คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ ; }
    ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง จะได้ผลลัพธ์ "Have a nice day!" ถ้าเงื่อนไขออกมาเป็นจริง ไม่เช่นนั้นจะได้ผลเป็นอย่างอื่น

    <html>
    <body>
    <?php
    $txt="hello";
    if ($txt=="hello")
    echo "Have a nice day!"; 
    else
    {
    echo "Good Bye! <br />"; 
    echo "See you later.";
    }
    ?>
    </body>
    </html>
    ถ้ามีคำสั่งเพียงบรรทัดเดียวไม่จำเป็นต้องใส่ปีกกา { } ก็ได้ แต่ถ้ามีมากกว่า 1 บรรทัดต้องใส่ปีกกาด้วย

    คำสั่ง Elseif ใช้ในกรณีที่มีเงื่อนไขจำนวนมาก โดยคำสั่ง elseif เป็นการรวมกันของคำสั่ง if และ else ซึ่งจะเรียงลำดับกันอยู่ มีรูปแบบดังนี้
    if (เงื่อนไขที่ 1)
    { คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขที่ 1 เป็นจริง ; }
    elseif (เงื่อนไขที่ 2)
    { คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขที่ 2 เป็นจริง ; }
    elseif (เงื่อนไขที่ 3)
    { คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขที่ 3 เป็นจริง ; }
    else
    { คำสั่งต่างๆ เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ ; }
    ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง จะได้ผลลัพธ์ "Have a nice day!" ถ้าเงื่อนไขที่ 1 ออกมาเป็นจริง และผลจะได้ "How are you?" ถ้าเงื่อนไขที่ 2 ออกมาเป็นจริง ไม่เช่นนั้นจะได้ผลเป็น "Good Bye!"

    <html>
    <body>
    <?php
    $txt="hello";
    if ($txt=="hello")
    echo "Have a nice day!"; 
    elseif ($txt=="hi")
    echo "How are you?"; 
    else
    echo "Good Bye!"; 
    ?>
    </body>
    </html>

    Operators


    โอเปอร์เรเตอร์ (Operator) คือเครื่องหมายแทนการปฎิบัติการทางคณิตศาสตร์ หรือเปรียบเทียบ ข้างล่างนี้จะแจกแจงตัวโอเปอร์เรเตอร์ประเภทต่างๆ
    Arithmetic Operators

    OperatorDescriptionExampleResult
    +บวกx=2
    x+2
    4
    -ลบx=2
    5-x
    3
    *คูณx=4
    x*5
    20
    /หาร15/5
    5/2
    3
    2.5
    %โมดูลัส (หารเหลือเศษ)5%2
    10%8
    10%2
    1
    2
    0
    ++การเพิ่มx=5
    x++
    x=6
    --การลดx=5
    x--
    x=4
    Assignment Operators

    OperatorExampleIs The Same As
    =x=yx=y
    +=x+=yx=x+y
    -=x-=yx=x-y
    *=x*=yx=x*y
    /=x/=yx=x/y
    %=x%=yx=x%y
    Comparison Operators

    OperatorDescriptionExample
    ==เท่ากับ5==8 ได้เป็น false
    !=ไม่เท่ากับ5!=8 ได้เป็น true
    >มากกว่า5>8 ได้เป็น false
    <น้อยกว่า5<8 ได้เป็น true
    >=มากกว่า หรือเท่ากับ5>=8 ได้เป็น false
    <=น้อยกว่า หรือเท่ากับ5<=8 ได้เป็น true
    Logical Operators

    OperatorDescriptionExample
    &&and - และx=6
    y=3(x < 10 && y > 1) ได้เป็น true
    ||or - หรือx=6
    y=3(x==5 || y==5) ได้เป็น false
    !not - ไม่ใช่x=6
    y=3!(x==y) ได้เป็น true

    Variables


    ตัวแปร (variables) มีไว้ใช้เก็บค่าต่างๆ เช่น ตัวเลข อักษร หรือผลลัพธ์ ต่างๆ ดังนั้นตัวแปรจึงถูกใช้ได้หลายตัวใน 1 สคริปต์

    ตัวแปรทั้งหมดใน PHP จะเริ่มต้นด้วยสัญลักษณ์ $ ตัวแปรอาจจะประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลข หรือ อาร์เรย์ ข้างล่างนี้เป็นสคริปต์ PHP ที่ให้ค่าแก่ตัวแปร $txt เป็นคำว่า "Hello Buddy" 
    <html>
    <body>
    <?php
    
    $txt="Hi Buddy";
    echo $txt;
    
    ?>
    </body>
    </html>
    วิธีรวม 2 ตัวแปรเข้าด้วยกัน ให้ใช้ตัว dot ( . ) ดังตัวอย่างข้างล่าง
    <html>
    <body>
    <?php
    $txt1="Hello Buddy";
    $txt2="Ok";
    echo $txt1 . " " . $txt2 ;
    ?>
    </body>
    </html>
    ผลลัทธ์ที่ได้ คือ Hello Buddy Ok

    กฎการตั้งชื่อให้ตัวแปร
  • ชื่อตัวแปร อักขระตัวแรกต้องเป็นตัวอักษร หรือ underscore "_" ห้ามเป็นตัวเลข
  • ชื่อตัวแปร ประกอบด้วยตัว a-Z, 0-9 และ _ (underscores) เท่านั้น
  • การใช้ตัวพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่นั้นจะไม่เหมือนกัน เช่น $totalscore จะไม่เหมือนกับ $TotalScore หากนำไปใช้แทนกันจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้
  • ชื่อตัวแปร ที่มีมากกว่า 1 คำ ให้ใช้ "_" เป็นตัวเชื่อม ($my_string) หรือใช้ตัวอักษรตัวใหญ่แทน ($myString)

    PHP Syntax


    คุณไม่สามารถวิวดู PHP source code ในเบราเซอร์ได้ คุณจะเห็นเป็น HTML ทั่วไป เพราะว่าสคริปต์ถูกแปลงบนเซิร์ปเวอร์เป็นโค้ด HTML แล้ว ก่อนที่จะถูกส่งไปที่เบราเซอร์ของคุณ

    แท็กสคริปต์ PHP จะเริ่มด้วย <?php และปิดด้วย ?>

    คุณอาจจะย่อให้สั้นลงแบบนี้ <? และปิดด้วย ?> ก็ได้ แต่รูปแบบมาตราฐานจะมี php อยู่ด้วย

    โดยปกติ ไฟล์ PHP จะมีแท็ก HTML เหมือนไฟล์ HTML ทั่วไป และแทรกด้วยแท็ก PHP

    เราจะโชว์ตัวอย่างสคริปต์ PHP ง่ายๆให้ดู จะเป็นการส่งข้อความ "Hi Buddy!" ไปที่เบราเซอร์
    <html>
    <body>
    <?php
    echo "Hi Buddy!";
    ?>
    </body>
    </html>
    แต่ละบรรทัดที่จบชุดโค้ดของ PHP จะปิดด้วยตัว semicolon (";") ตัวนี้จะเป็นตัวบอกว่าจบ 1 ชุดคำสั่ง

    มี 2 คำสั่ง ที่คุณสามารถใส่เพื่อให้แสดงผลออกมาเป็นข้อความโชว์บนเบราเซอร์ คือ echo และ print ตัวอย่างข้างบนของเราใช้ echo เพื่อแสดงผล

    Comments in PHP
    ใน PHP เราใช้ // เพื่อละเว้นคำสั่งในบรรทัดนั้น หรือใช้ /* */ สำหรับละเว้นคำสั่งหลายบรรทัด
    <html>
    <body>
    <?php
    //นี่คือ comment
    /*
    นี่คือ
    comment
    นะ
    */
    ?>
    </body>
    </html>

    Introduction


    ก่อนที่จะเรียนภาษา PHP คุณควรมีความรู้พื้นฐานภาษา HTML ซะก่อนนะ
    PHP คืออะไร ?


  • PHP ย่อมาจาก PHP: Hypertext Preprocessor


  • PHP เป็นภาษาทางฝั่งเซิร์ปเวอร์ (server-side scripting language) เช่นเดียวกับภาษา ASP


  • PHP ถูกประมวลผลบนเซิร์ปเวอร์


  • PHP สามารถใช้ฐานข้อมูลได้หลายตัว (MySQL, Informix, Oracle, Sybase, Solid, PostgreSQL, Generic ODBC, etc.)


  • PHP เป็น Open Source Software (OSS)


  • PHP ดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี ที่ http://www.php.net


  • PHP รันได้หลายระบบ ทั้ง Windows, Linux, Unix, etc.


  • PHP เข้าได้เกือบทุกเซิร์ปเวอร์วันนี้ ทั้ง Apache, IIS, etc.


  • PHP ง่ายที่จะศึกษา และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนเซิร์ปเวอร์
    ไฟล์ PHP คืออะไร ?


  • ไฟล์ PHP อาจจะบรรจุข้อความ (text), แท็ก HTML และสคริปต์อื่นๆ


  • ไฟล์ PHP ถูกส่งไปที่เบราเซอร์ผู้ชมเป็น HTML


  • ไฟล์ PHP มีนามสกุล ".php" , ".php3" , ".phtml"
    เริ่มต้นยังไงดีล่ะ ?


  • ติดตั้งเซิร์ปเวอร์ Apache บนระบบ Windows หรือ Linux


  • ติดตั้ง PHP


  • ติดตั้งฐานข้อมูล MySQL
    บทเรียนนี้ จะไม่อธิบายว่า PHP, MySQL หรือ Apache Server ติดตั้งอย่างไร
    ถ้าระบบของคุณมี PHP แล้ว ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย คุณเพียงสร้างไฟล์ PHP ไปเก็บไว้ในเว็ปไดเร็กตอรี่ของคุณ และเซิร์ปเวอร์ของคุณก็จะรันเอง ยังไงก็ตาม ถ้าระบบของคุณไม่ได้ลง PHP คุณจำต้องติดตั้งก่อน ดูวิธีติดตั้งได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้ :

    http://www.php.net/manual/en/install.php

    Download PHP

    http://www.php.net/downloads.php

    Download MySQL Database

    http://www.mysql.com/downloads/index.html

    Download Apache Server

    http://httpd.apache.org/download.cgi

    phpbasic


    คุณไม่สามารถวิวดู PHP source code ในเบราเซอร์ได้ คุณจะเห็นเป็น HTML ทั่วไป เพราะว่าสคริปต์ถูกแปลงบนเซิร์ปเวอร์เป็นโค้ด HTML แล้ว ก่อนที่จะถูกส่งไปที่เบราเซอร์ของคุณ

    แท็กสคริปต์ PHP จะเริ่มด้วย <?php และปิดด้วย ?>

    คุณอาจจะย่อให้สั้นลงแบบนี้ <? และปิดด้วย ?> ก็ได้ แต่รูปแบบมาตราฐานจะมี php อยู่ด้วย

    โดยปกติ ไฟล์ PHP จะมีแท็ก HTML เหมือนไฟล์ HTML ทั่วไป และแทรกด้วยแท็ก PHP

    เราจะโชว์ตัวอย่างสคริปต์ PHP ง่ายๆให้ดู จะเป็นการส่งข้อความ "Hi Buddy!" ไปที่เบราเซอร์
    <html>
    <body>
    <?php
    echo "Hi Buddy!";
    ?>
    </body>
    </html>
    แต่ละบรรทัดที่จบชุดโค้ดของ PHP จะปิดด้วยตัว semicolon (";") ตัวนี้จะเป็นตัวบอกว่าจบ 1 ชุดคำสั่ง

    มี 2 คำสั่ง ที่คุณสามารถใส่เพื่อให้แสดงผลออกมาเป็นข้อความโชว์บนเบราเซอร์ คือ echo และ print ตัวอย่างข้างบนของเราใช้ echo เพื่อแสดงผล

    Comments in PHP
    ใน PHP เราใช้ // เพื่อละเว้นคำสั่งในบรรทัดนั้น หรือใช้ /* */ สำหรับละเว้นคำสั่งหลายบรรทัด
    <html>
    <body>
    <?php
    //นี่คือ comment
    /*
    นี่คือ
    comment
    นะ
    */
    ?>
    </body>
    </html>